แบบสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการบริการ ประจำปีการศึกษา 2563

คำชี้แจง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ทำการสำรวจแบบสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการบริการ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. 1. ข้อมูลจากการแสดงความคิดเห็นของท่านจะนำไปประมวลผลเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ รวมทั้งการกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองความคิดเห็นของนักศึกษา และสามารถนำไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. โปรดเลือกข้อที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด
  3. แบบสอบถามทั้งหมดมี 3 ตอน ดังนี้
    • ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบประเมิน
    • ตอนที่ 2 ความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และการบริการ
    • ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะอื่น ๆ
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

เพศ

ชั้นปีที่ศึกษา

คณะ

หลักสูตร/สาขาวิชา

ตอนที่ 2 ความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และการบริการ

หัวข้อการจัดให้บริการ ระดับความพึงพอใจ
1. การบริการด้านให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา
1) มีหน่วยงานกลางจัดเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้และประสบการณ์ให้บริการ
2) อาจารย์ที่ปรึกษามีเวลาให้คำปรึกษาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ พร้อมช่วยเหลือและให้คำแนะนำ
3) อาจารย์ที่ปรึกษามีเวลาให้นักศึกษาได้พบทุกครั้งเมื่อมีการนัดหมาย
4) อาจารย์ที่ปรึกษามีความเต็มใจและเอาใจใส่ในการให้คำปรึกษา และมีการติดตามผลของการให้คำปรึกษา
5) อาจารย์ที่ปรึกษาเอาใจใส่นักศึกษาอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ
6) มีช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนักศึกษาในความดูแล
7) ผู้รับบริการสามารถนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ประโยชน์
2. การบริการแหล่งข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษา
1) มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ จดหมายข่าว บอร์ดประชาสัมพันธ์ วิทยุ ของมหาวิทยาลัย
2) มีข้อมูลความเคลื่อนไหวอื่นทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย ที่จำเป็นแก่นักศึกษาและศิษย์เก่า
3) การให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อ
4) มีการให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับทุนการศึกษา และแหล่งทุน
5) การให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการประกาศรับสมัครงานและแหล่งงาน
6) ความรวดเร็วและทันสมัยของการให้บริการข่าวสารข้อมูลต่างๆ
3. การบริการเพื่อพัฒนาประสบการณ์ทางวิชาชีพแก่นักศึกษา
1) มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเตรียมความพร้อม เพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษา
2) ความหลากหลายของกิจกรรมเตรียมความพร้อมที่มหาวิทยาลัยจัดให้กับนักศึกษา
3) กิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานมีความสอดคล้องวิชาชีพของนักศึกษา
4) กิจกรรมการเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพของนักศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษา
5) มีการส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษาแข่งขัน/ประกวดทักษะ ทางด้านวิชาการและวิชาชีพทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการทำงานให้แก่นักศึกษา
6) มีการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการสมัครงาน เช่น การเขียน Resume การกรอกใบสมัครการสัมภาษณ์งานการเตรียมเอกสารตลอดจนการปรับปรุงบุคลิกภาพเพื่อ การทำงานฯลฯ
7) การประชาสัมพันธ์และความสะดวกในการเข้าถึงกิจกรรมเตรียมความพร้อมที่มหาวิทยาลัยจัด
8) ประโยชน์ที่สามารถใช้ได้จริงจากกิจกรรมเตรียมความพร้อมที่มหาวิทยาลัยจัด เช่น การเขียน resume การกรอกใบสมัคร การสัมภาษณ์งาน การเตรียมเอกสาร การปรับปรุงบุคลิกภาพ ฯลฯ
ตอนที่ 3 ข้อควรปรับปรุง/เสนอแนะ

โปรดคลิกเลือก "I'm not a robot" หรือ "ฉันไม่ใช่โปรแกรมอัตโนมัติ" ก่อนคลิกส่งข้อมูล